ไม่อยากซึมเศร้า อย่ากลายเป็นคน Social Addiction
ปัจจุบันโซเชียลมีเดียและโลกออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องการทำงาน การเรียน การเดินทาง การท่องเที่ยว หรือแม้แต่การทำธุรกรรมทางการเงิน ก็สามารถพึ่งพาสื่อเหล่านี้เป็นตัวกลางได้เสมอ และแน่นอนว่าเรื่องไหนที่มีข้อดี ก็คงหนีไม่พ้นข้อเสียด้วยเหมือนกัน อย่างการใช้สื่อออนไลน์หากเราใช้ด้วยความระมัดระวัง ใช้อย่างถูกวิธี ผลดีก็จะเกิด แต่หากใช้อย่างประมาทมันก็สามารถนำพาสิ่งที่ไม่ดีมาให้คุณได้เหมือนกัน
และด้วยความที่ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน หรือเป็นคนวัยไหนเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตมันก็ทำให้คุณเหมือนหลุดไปอีกโลกได้แล้ว การเสพสื่อโซเชียลมีเดียมากเกินไป นอกจากจะส่งผลโดยตรงกับสายตาแล้ว มันยังอาจทำให้คุณกลายเป็นคนเสพติดโซเชียลมีเดีย (Social Addiction) มากเกินไป จนสามารถกระทบจิตใจคุณได้อีกด้วย
Social Addiction คืออะไร?
สำหรับ Social Addiction เป็นอาการหนึ่งของการเสพติดโซเชียลมีเดีย นั่นคือการที่คนเราใช้สื่อโซเชียลเป็นเวลานานจนมากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน และขาดปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญการที่เสพติดโซเชียลมากเกินความจำเป็นยังทำให้คุณเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่รู้จักแบ่งเวลาอีกด้วย

โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดการเสพติดโซเชียล หรือ Social Addiction มีหลายสาเหตุ ทั้งสังคม เช่น วัฒนธรรมสังคมก้มหน้า การติดต่อกับกลุ่มเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดีย, สื่อ เช่น การตลาดที่ผลิตสื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม สำหรับประเภทของการติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Addiction จะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
- ติดสาระ ได้แก่ ติดเกม ติดการพนันออนไลน์ เป็นต้น
- ติดความสัมพันธ์ ได้แก่ ติดเฟซบุ๊ก ติดแชทไลน์ เป็นต้น
- ติดอุปกรณ์ ติดรุ่นของสมาร์ทโฟน เป็นต้น
อาการใดบ้างที่บอกว่าคุณเริ่มเป็น Social Addiction
- ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากกว่าที่ตั้งใจไว้
- มีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด เมื่อไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย
- ไม่สามารถควบคุมการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของตนเองได้ แม้จะพยายามแล้วก็ตาม
- ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดอยู่ก็มักจะคิดถึงการใช้โซเชียลมีเดีย
- เวลาเครียดมักจะใช้โซเชียลมีเดียเพื่อผ่อนคลาย
- มีการโกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่นโซเชียลมีเดีย
- เกิดปัญหาในการทำงานหรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดโดยมีโซเชียลมีเดียเป็นสาเหตุ
ซึ่งหากมี 7 อาการดังกล่าวให้คุณคิดไว้ก่อนเลย ว่าตอนนี้คุณอาจกำลังมีอาการ Social Addiction หรือการเสพติดโซเชียลมีเดียแล้ว ก่อนอื่นคุณต้องยอมรับเมื่อคนรอบข้างเริ่มเตือน ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ เตรียมตัวรับมือ และมีวิธีแก้ไขด้วยตัวเอง ดังนี้
- ใช้การตั้งเตือนเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นตัวช่วย เพื่อลดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง
- มีการวางแผนและกำหนดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดียให้ชัดเจน
- หางานอดิเรกอื่น ๆ ที่สนใจนอกเหนือจากการเล่นมือถือ เช่น การออกกำลังกาย การทำงานฝีมือ ดูหนัง ปลูกต้นไม้ เพื่อให้ตัวคุณได้เบี่ยงเบนความสนใจจากโซเชียลมีเดีย
- ออกไปสังสรรค์พบปะเพื่อน ครอบครัว ญาติ หรือคนรัก เพื่อออกไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ แทนการใช้เวลาอยู่กับโซเชียลมีเดีย
- ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและรักษาโรคติดสื่อสังคมออนไลน์ หากไม่สามารถแก้ไข ตามวิธีเบื้องต้นด้วยตนเองได้
การเสพติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Addiction เป็นอาการที่สามารถแสดงได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยหนทางที่ทำให้เกิดโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสื่อ หลายช่องทาง ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมัคร gclub โน้ตบุ๊ค ดังนั้นหากเริ่มมีอาการข้างต้นก็ควรเร่งแก้ไขตัวเองให้ทันการ ที่สำคัญจะต้องยอมรับความจริงด้วยว่าคุณเริ่มมีอาการดังกล่าวแล้ว เพราะหากคุณปล่อยเอาไว้ ไม่รีบแก้ไข จากปัญหาเล็ก ๆ อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำร้ายสภาพร่างกายและสภาพจิตใจคุณได้เหมือนกัน ดังนั้นแก้ในตอนที่ยังไม่สายจะดีที่สุด